วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2558

เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม ตัวแทนกลุ่มได้ลงพื้นที่สำรวจผลิตภัณฑ์โอทอปจังหวัดลพบุรี ที่งาน "ศิลปาชีพประทีปไทยโอทอปก้าวไกลด้วยพระบารมี ครั้งที่ ๔ " ณ อาคารชาเรนเจอร์ฮอล์ อิมแพ็คอารีน่าเมืองทองธานี และได้ไปสำรวจที่ซุ้มสินค้าของลพบุรี พร้อมหาข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของแต่ละชุมชนที่เป็นตัวแทนในการแสดง

ผลิตภัณฑ์สมุนไพรสมุนไฟรหน้าใสเปล่งปลั่ง ลพบุรี
ปลอดภัยไร้สารเคมี และยากันบูด (บ้านดินสอพอง)
สมุนไพรสมุนไฟรหน้าใสเปล่งปลั่ง/ขัดผิวขาวนวล


ใช้ขัด พอก นวด ผิวหน้า
ประกอบด้วยดินสอพองสะตุอย่างดี
และสมุนไฟร 6 ชนิด
ใช้ร่วมกับน้ำผึ้ง นมสด ผลไม้ ได้


ส่วนผสม หน้าใสเปล่งปลั่ง
ขมิ้ม
ไพล
ว่านนางคำ
ทานาคา
ว่านชักมดลูก
ชะเอมเทศ










ความหมายของการออกแบบอัตลักษณ์ Brand เครื่องหมายและสัญลักษณ์"หมายถึงอะไร"

ออกแบบอัตลักษณ์
     Corporate Identity Design (หรือ CI Design) คือ การออกแบบอัตลักษณ์ขององค์กรหรือแบรนด์สินค้า ที่ไม่ได้หมายถึงการสร้างแบรนด์หนึ่งๆ โดยตรง แต่เป็นหน้าต่างสำคัญที่จะกำหนดหน้าตาและทิศทางของแบรนด์นั้นๆ ได้ การออกแบบอัตลักษณ์นี้จึงไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะมันไม่ใช่แค่การออกแบบ โลโก้ แล้วนำไปประยุกต์ใช้กับเครื่องมือสื่อสารทั้งหมดของแบรนด์ CI Design คือ การออกแบบ ภาพลักษณ์ทั้งหมดของแบรนด์” ที่จะทำให้คนภายนอกสัมผัสได้เฉกเช่นเดียวกับที่องค์กรต้องการสื่อออกไป เรียกว่า ถ้าพลาดก็อาจทำให้ภาพของแบรนด์บิดเบี้ยวไปเลยก็ได้ คำว่า อัตลักษณ์ ไม่มีบันทึกไว้ในพจนานุกรม แต่มีตำราหลายเล่มให้ความหมายคำว่า อัตลักษณ์ ไว้ว่า คุณลักษณะเฉพาะตัว ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ของลักษณะเฉพาะของตัวบุคล สังคม ชุมชน หรือประเทศนั้นๆ เช่น เชื้อชาติ ภาษา วัฒนธรรมท้องถิ่น และศาสนา ฯลฯ ซึ่งมีคุณลักษณะที่ไม่ทั่วไปหรือสากลกับสังคม อื่นๆ กล่าวคือ ลักษณะที่ไม่เหมือนกับของคนอื่นๆ อัตลักษณ์ มาจากภาษาบาลีว่า อตฺต + ลักษณ โดยที่ อัตตะ มีความหมายว่า ตัวตน, ของตน ส่วน ลักษณะ หมายถึง สมบัติเฉพาะตัว หากมองเพียงแค่รูปศัพท์ อัตลักษณ์ จึงเหมาะจะนำมาใช้หมายถึงลักษณะเฉพาะตัวของสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากกว่า ส่วนคำว่า เอกลักษณ์ มีคำว่า เอก ซึ่งหมายถึง หนึ่งเดียว จึงน่าจะหมายความว่าลักษณะหนึ่งเดียว (ของหลายๆ สิ่ง) หรือลักษณะที่ของหลายๆ สิ่งมีร่วมกัน ซึ่งเป็นความหมายแรกตามพจนานุกรมอย่างไรก็ดี คนไทยโดยส่วนใหญ่ยังนิยมใช้คำว่า เอกลักษณ์ ในความหมายว่าลักษณะเฉพาะตัวที่ไม่เหมือนใครอย่างกว้างขวาง ส่วนคำว่า อัตลักษณ์ นั้นมักจะใช้ในวงแคบๆ เช่นแวดวงวิชาการเท่านั้น และบางครั้งก็ใช้แบบมีนัยยะแฝง เช่น เอกลักษณ์ เป็นสิ่งตายตัวไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ส่วน อัตลักษณ์ สามารถเปลี่ยนแปลงได้ แต่กระนั้นก็ยังไม่มีข้อบัญญัติการใช้ที่ชัดเจน




Brand
     ตราสินคา (Brand) หมายถึง ชื่อ (Name) คํา (Term) สัญลักษณ (Symbol) การออกแบบ (Design) ที่จะบอกวาสินคาหรือบริการหนึ่งๆเปนของใครและมีความแตกตางจากคูแขงอยางไร วิธีงายๆที่จะบอกวาสิ่งไหนเปนตราสินคาหรือไมนั้น สังเกตไดจากตราสินคาจะประกอบไปดวย 
คุณลักษณะ 4 ประการ ดังนี้คือ

1. Attribute : รูปรางหนาตาภายนอกที่จะทําใหเกิดการจดจํา
2. Benefit : คุณประโยชน
3. Value : สิ่งที่ทําใหรูสึกวาใชตราสินคานี้แลวเกิดความภูมิใจ
4. Personality : บุคลิกภาพของตราสินคา
     
     มาถึงตรงนี้คงมีหลายคนเกิดความสงสัยวา แลวผลิตภัณฑ (Product) กับตราสินคา (Brand) มีความเหมือนหรือแตกตางกันอยางไร ไมยาก…สิ่งที่เหมือนหรือแตกตางกันก็คือผลิตภัณฑ (Product) หมายถึง สิ่งที่จับตองได สัมผัสได เห็นไดดวยตาเปลา มีรูปรางหนาตา มีสไตล มีโมเดล มีการตั้งราคาซึ้งผลิตภัณฑจะมีความสามารถในการตอบสนองความตองการของผูบริโภคกลุมเปาหมายไดทั้งในแงของประสิทธิภาพ(Performance) และคุณคา (Value) ตราสินคา (Brand) หมายถึง ทุกอยางที่สินคามีอยูทั้งหมด ตลอดจนความรูสึกบางอยางที่ผูบริโภคมีกับสินคาหรือตราสินคานั้นๆ โดยเปนเรื่องที่เกี่ยวกับบุคลิกภาพ
(Personality) ความนาเชื่อถือ(Trust / Reliability) ความมั่นใจ (Confidence) สถานภาพ(Status) ประสบการณ(Share experience) และความสัมพันธ (Relationship) สามารถอธิบายตามดานลางเพื่อใหงายตอการทําความเขาใจ


                            Product = สิ่งที่สามารถจับตองได (Tangible) 
                            Brand = สิ่งที่สามารถจับตองได + ความรูสึก (Tangible + Feeling)


อ้างอิงจาก http://chotika51-thesis.blogspot.com/2011/07/blog-post.html